0-5393-6027 ต่อ 100
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 07:30 - 20:00 น.
วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 07:30 - 15:30 น.
อัลตร้าซาวด์
อัลตร้าซาวด์ : Ultrasound

อัลต้าซาวน์ สามารถตรวจส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง? อยากรู้ข้างในเป็นยังไง  วันนี้เรามีคำตอบกับข้อมูลดีๆมาฝากกันค่ะ พร้อมข้อดีของอัลตร้าซาวน์

การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) คือ การนำคลื่นเสียงความถี่สูงมาใช้ประโยชน์ในการตรวจอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

อัลตราซาวด์ สามารถใช้ตรวจภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะ (เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ) ต่างๆได้เกือบทุกเนื้อเยื่อ/อวัยวะ ยกเว้นในอวัยวะที่มีอากาศอยู่มาก เช่น ปอด และลำไส้ ในกระดูก และในคนอ้วน/โรคอ้วน เนื่องจากเนื้อเยื่อ/อวัยวะดังกล่าวให้การสะท้อนเสียงได้ไม่ดี ภาพที่เกิดขึ้นจึงอ่านยาก โอกาสอ่านแปลผลผิดพลาดจึงสูงขึ้น

ตัวอย่างเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่สามารถตรวจภาพได้ด้วยอัลตราซาวด์อย่างมีประสิทธิภาพคือ ดวงตา ต่อมไทรอยด์ หัวใจ หลอดเลือด ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ อัณฑะ และเต้านม

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

  • ดูความผิดปกติทั่วๆ ไป เช่น นิ่วในไต, นิ่วในถุงน้ำดี, ก่อนเนื้อในตับ เป็นต้น
  • เพื่อยืนยันกับการตรวจอื่นๆ ว่าพบก้อนเนื้อ
  • ก้อนเนื้อที่พบเป็นก้อนเนื้อประเภทใด เป็นส่วนของอวัยวะใด หรือติดต่อกับอวัยวะใดบ้าง
  • ติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของรอยโรค
  • เพื่อช่วยในการเจาะอวัยวะที่สงสัย เพื่อการวินิจฉัยและการรักษา
  • เพื่อดูเพศ, ความผิดปกติ, ขนาดของทารกในครรภ์
  • ดูความผิดปกติของเส้นเลือดดำ, เส้นเลือดแดง ว่ามีการอุดตัน, โป่ง หรือขอด เป็นต้น
  • ดูจังหวะการเต้น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นเลือดแดงส่วนต้น (ตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจโดยเฉพาะ) 
  • ดูกล้ามเนื้อ ดูเอ็น
  • ดูสมองเด็กแรกเกิดถึง 1 ขวบ

ข้อจำกัดของการอัลตร้าซาวด์

  • อัลตราซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะส่วนที่มีลมได้ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะอากาศจะไม่สะท้อนคลื่นสัญญาณกลับ ทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณมาสร้างภาพได้
  • อัลตราซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่เป็นกระดูก หรือถูกกระดูกบังได้ เพราะกระดูกจะสะท้อนคลื่นกลับหมด ไม่สามารถทะลุทะลวงลงไปยังอวัยวะต่างๆ ได้
วันเวลาทำการ
-
วันหยุด
วันหยุดนักขัตฤกษ์
ติดต่อ
0800000000
อีเมล
-